analyticstracking
หัวข้อ   “ กิจกรรมคนไทยในวันสงกรานต์ 2564
คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 74.1 ให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์เป็นวันครอบครัว วันรวมญาติ
ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.5 ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการเล่นน้ำ สาดน้ำ
ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.5 วอนให้ภาครัฐเข้มงวดเฝ้าระวังมาตรการสงกรานต์ของ ศบค.
ในการงดกิจกรรมกลุ่ม งานปาร์ตี้
กิจกรรมเทศกกาลสงกรานต์ปีนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.8 ตั้งใจจะอยู่รวมญาติ เลี้ยงฉลองในครอบครัว
โดยกังวลอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด หากมีการเดินทางข้ามจังหวัดได้ทุกพื้นที่
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “กิจกรรมคนไทยในวันสงกรานต์ 2564” โดยเก็บ
ข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,219 คน พบว่า ประชาชน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.1 ให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์เป็นวันครอบครัว
วันรวมญาติ
รองลงมาร้อยละ 60.0 เป็นวันอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทย และร้อยละ
49.2 เป็นวันระลึกถึงผู้สูงอายุ คนเฒ่าคนแก่
 
                  เมื่อถามว่าเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ให้ความสำคัญต่อการเล่นน้ำ
สาดน้ำอย่างไรพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.5 ไม่เล่นน้ำ สาดน้ำ โดยในจำนวนนี้
ร้อยละ 58.4 ไม่เล่นน้ำ สาดน้ำแต่ถูกสาดได้ ไม่โกรธ และร้อยละ 5.1 ไม่เล่นน้ำ
สาดน้ำ และไม่ชอบให้ถูกสาด รู้สึกโกรธไม่พอใจ
ขณะที่ร้อยละ 36.5 เล่นน้ำ สาดน้ำ
โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 27.9 เล่นน้ำ สาดน้ำบ้างเป็นบางครั้ง และร้อยละ 8.6 เล่นน้ำ
สาดน้ำเป็นประจำ
 
 
                 ส่วนมาตรการสงกรานต์ของ ศบค. ที่อยากให้หน่วยงานภาครัฐเข้มงวดเฝ้าระวังอย่างจริงจัง เพื่อ
ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.5 อยากให้เฝ้าระวังมาตรการงดกิจกรรมกลุ่ม
งานปาร์ตี้
รองลงมาร้อยละ 63.1 อยากให้เฝ้าระวังมาตรการงดเล่นปาร์ตี้โฟม และร้อยละ 61.1 มาตรการงดสัมผัส ประแป้ง
 
                  สำหรับกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2564 นี้ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 68.8 จะอยู่
รวมญาติ เลี้ยงฉลองในครอบครัว
รองลงมาร้อยละ 52.3 จะเข้าวัด ไหว้พระ ทำบุญ และร้อยละ 46.3 จะสรงน้ำพระ ขณะที่
ร้อยละ 14.0 ไม่มีกิจกรรมที่จะทำอะไรในช่วงวันสงกรานต์
 
                  สุดท้ายเมื่อถามถึงความกังวลต่อมาตรการเดินทางข้ามจังหวัดได้ทุกพื้นที่พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ
27.6 กังวลอุบัติเหตุบนท้องถนน
รองลงมาร้อยละ 26.8 กังวลการลอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระหว่างเดินทาง การเมา
แล้วขับ และร้อยละ 19.8 กังวลความหย่อนยานไม่สวมใส่หน้ากากอนามัย
 
 
                  รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “ท่านให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์อย่างไร” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
เป็นวันครอบครัว วันรวมญาติ
74.1
เป็นวันอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทย
60.0
เป็นวันระลึกถึงผู้สูงอายุ คนเฒ่าคนแก่
49.2
เป็นวันทำบุญสร้างกุศลประกอบพิธีทางศาสนา
48.1
เป็นวันปีใหม่ วันหยุดพักผ่อนประจำปี
46.3
เป็นวันเล่นน้ำ สาดน้ำ
24.9
 
 
             2. ความสำคัญต่อการเล่นน้ำ สาดน้ำ ในเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา                  

 
ร้อยละ
ไม่เล่นน้ำ สาดน้ำ
แต่ถูกสาดได้ ไม่โกรธ ร้อยละ 58.4
และไม่ชอบให้ถูกสาด รู้สึกโกรธไม่พอใจ ร้อยละ 5.1
63.5
เล่นน้ำ สาดน้ำ
โดย เล่นน้ำ สาดน้ำบ้างเป็นบางครั้ง ร้อยละ 27.9
เล่นน้ำ สาดน้ำเป็นประจำ ร้อยละ 8.6
36.5
 
 
             3. มาตรการสงกรานต์ของ ศบค. ที่อยากให้หน่วยงานภาครัฐเข้มงวดเฝ้าระวังอย่างจริงจัง
                 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
งดกิจกรรมกลุ่ม งานปาร์ตี้
68.5
งดเล่นปาร์ตี้โฟม
61.3
งดสัมผัส ประแป้ง
61.1
งดคอนเสิร์ต
59.6
งดเล่นน้ำ งดสาดน้ำ
51.5
มาตรการริน รด พรม ใส่หน้ากาก ไม่สาดน้ำ
28.9
การเดินทางข้ามจังหวัด
28.8
 
 
             4. กิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2564 นี้
                (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
อยู่รวมญาติ เลี้ยงฉลองในครอบครัว
68.8
เข้าวัด ไหว้พระ ทำบุญ
52.3
สรงน้ำพระ
46.3
รดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่
43.2
ไปเที่ยวต่างจังหวัด
12.0
ปล่อยนกปล่อยปลา
9.2
ก่อเจดีย์ทราย
8.8
อื่นๆ อาทิเช่น สรงน้ำอัฐิ ต้องทำงาน
1.2
ไม่มีกิจกรรมที่จะทำอะไรในช่วงวันสงกรานต์
14.0
 
 
             5. ความกังวลต่อมาตรการเดินทางข้ามจังหวัดได้ทุกพื้นที่

 
ร้อยละ
อุบัติเหตุบนท้องถนน
27.6
การลอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระหว่างเดินทาง การเมาแล้วขับ
26.8
ความหย่อนยานไม่สวมใส่หน้ากากอนามัย
19.8
รถติดยาวในเส้นทางสายหลัก
12.8
ผู้คนมากมายเกิดการสัมผัสใกล้ชิดกัน
8.1
การสังสรรค์ รวมตัวกัน
4.2
อิ่นๆ อาทิเช่น ไม่มีเรื่องกังวล
0.7
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนถึงความสำคัญของเทศกาลสงกรานต์
                  2) เพื่อสะท้อนถึงมาตรการสงกรานต์ของ ศบค. ที่อยากให้หน่วยงานภาครัฐเข้มงวดเฝ้าระวังอย่างจริงจัง
                      เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19
                  3) เพื่อสะท้อนถึงกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2564
                  4) เพื่อสะท้อนถึงความกังวลต่อมาตรการเดินทางข้ามจังหวัดได้ทุกพื้นที่
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 29 – 31 มีนาคม 2564
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 12 เมษายน 2564
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
569
46.7
             หญิง
650
53.3
รวม
1,219
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
90
7.4
             31 – 40 ปี
163
13.4
             41 – 50 ปี
313
25.7
             51 – 60 ปี
354
29.0
             61 ปีขึ้นไป
299
24.5
รวม
1,219
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
722
59.2
             ปริญญาตรี
400
32.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
97
8.0
รวม
1,219
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
146
12.0
             ลูกจ้างเอกชน
254
20.8
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
442
36.3
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
62
5.1
             ทำงานให้ครอบครัว
3
0.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
269
22.1
             นักเรียน/ นักศึกษา
16
1.3
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
27
2.2
รวม
1,219
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898